การดำเนินงานในระดับชาติและระดับภูมิภาค

 


             ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ได้พยายามจัดตั้งและหาวิธีดำเนินงานเกี่ยวกับระบบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ในประเทศและภูมิภาคของตน ความพยายามเหล่านี้ทำให้ข้อกำหนดของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพดำเนินไปสู่การปฏิบัติ หลายประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ จัดให้มีการประชุม เจรจาต่อรองในประเด็นการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ เพื่อให้เกิดกระบวนการที่ดีที่สุดสำหรับประเทศของตน

             ปัจจุบันภูมิภาคที่มีแนวทางกฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ชัดเจน ได้แก่ สหภาพแอฟริกา กลุ่มประเทศแอนเดียนและกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และประเทศที่มีกฎ ระเบียบเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์ทั้งที่ใช้แนวทางกฎระเบียบในระดับภูมิภาค ปรับปรุงกฎหมายของตนเอง และที่ดำเนินการร่างกฎ ระเบียบขึ้นใหม่มีทั้งสิ้น 29 ประเทศ โดยแบ่งตามภูมิภาคได้ดังนี้ ภูมิภาคลาตินอเมริกา ได้แก่ ประเทศโบลิเวีย ประเทศบราซิล ประเทศโคลอมเบีย ประเทศกายอานา ประเทศนิการากัว ประเทศเปรู และประเทศเวเนซูเอลา ภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ ประเทศอินเดียและประเทศฟิลิปปินส์ ภูมิภาคแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศวานูอาตู ภูมิภาคอเมริกาเหนือ ได้แก่ ประเทศคอสตาริกา ประเทศคิวบา ประเทศเอกวาดอร์ ประเทศเม็กซิโก และประเทศปานามา ภูมิภาคแอฟริกา ได้แก่ ประเทศแคเมอรูน ประเทศเอธิโอเปีย ประเทศแกมเบีย ประเทศกินีบิสเซา ประเทศเคนยา ประเทศมาลาวี ประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศอูกันดา ทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโปรตุเกส และประเทศสวิตเซอร์แลนด์

             การดำเนินงานด้านการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ในแต่ละภูมิภาคของโลกมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับนโยบายและสถานภาพ การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมของภูมิภาคนั้นๆหากภูมิภาคใดมีความหลากหลายทางทรัพยากรพันธุกรรมมากและมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีน้อย การดำเนินงานเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์จะชัดเจน แต่หากภูมิภาคใดมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีมาก การดำเนินงานทางด้านการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์จะไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เมื่อพิจารณาในระดับประเทศของแต่ละภูมิภาคจะเห็นว่า ถึงแม้ในภูมิภาคจะมีแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมให้แต่ละประเทศได้นำไปปรับปรุงการดำเนินงานภายในประเทศแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาเกี่ยวกับการตีความขอบเขต และข้อกำหนดต่างๆ อีกทั้งยังมีประเด็นปัญหาในด้านประวัติศาสตร์ ลักษณะทางสังคมของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกันความพร้อมและความเข้าใจของประชาชนในประเด็นการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ และถึงแม้ประเทศที่มีการดำเนินงานทางด้านการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างชัดเจนแล้วการอนุญาตการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมยังคงมีน้อยและใช้เวลานาน โดยเฉพาะการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อการค้ายังคงมีการให้อนุญาตน้อยมาก

  ทวีปเอเชีย

  ภูมิภาคแปซิฟิก

  ทวีปยุโรป

  ทวีปแอฟริกา

  ทวีปอเมริกาเหนือ

  ภูมิภาคลาตินอเมริกาและคาริบเบียน

ทวีปเอเชีย
              การดำเนินงานด้านการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ของทวีปเอเชียคล้ายกับในภูมิภาคละตินอเมริกา โดยในหลายประเทศได้เริ่มจัดทำมาตรการเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of south East Aslan Nations : SEAN) ได้ร่างข้อตกลงกรอบการดำเนินงานในเรื่องการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ สามประเทศจากภูมิภาคนี้เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (LMMC) ซึ่งได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ และทั้งสามประเทศมีวิธีดำเนินงาน หรือกำลังอยู่ในขั้นร่างระบบสำหรับการเข้าถึง และการแบ่งปันผลประโยชน์ในระดับประเทศ หรือ ระดับท้องถิ่น/ภูมิภาค  รายละเอียดเพิ่มเติม >>
 Up
ภูมิภาคแปซิฟิก
              กิจกรรมการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ในภูมิภาคแปซิฟิกใต้กำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้น ประเทศออสเตรเลียกำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำระบบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ในประเทศตนเอง ประเทศนิวซีแลนด์กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรึกษาหารือในเรื่องการสำรวจตรวจค้นทางชีวภาพ ส่วนรัฐที่เป็นเกาะอื่นๆ กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายหรือนโยบายการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ ในขณะที่ ประเทศซามัว (Samoa) มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์แล้ว และสถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงภายใต้มหาวิทยาลัยแห่งสหประชาชาติเป็นหน่วยงานเสริมสร้างสมรรถนะในภูมิภาคนี้ รายละเอียดเพิ่มเติม >>
 Up
ทวีปยุโรป

              มีประเทศในยุโรปเพียงไม่กี่ประเทศที่มีระเบียบข้อบังคับในเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2541 กลุ่มประชาคมยุโรป (EC) มียุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพและประกาศให้กลุ่มประเทศในประชาคมยุโรปจัดทำกรอบการดำเนินงานที่เหมาะสมในเรื่องการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ กรอบการดำเนินงานพหุภาคีนี้จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาแนวทางสำหรับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ และจะช่วยสนับสนุนประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรพันธุกรรมให้มีการพัฒนายุทธศาสตร์ในด้านการสำรวจตรวจค้นทางชีวภาพ ประกาศ (Directive) 98/44/EC ว่าด้วยกฎหมายคุ้มครองนวัตกรรมจากเทคโนโลยีชีวภาพ จะรวมเรื่องการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ไว้ในการพิจารณาด้วย ในหัวข้อ (Recital) ที่ 27 สนับสนุนการยื่นขออนุญาตจดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่ครอบคลุมข้อมูลแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสารชีวภาพหัวข้อ (Recital) ที่ 55 ต้องการให้รัฐสมาชิกให้น้ำหนักความสำคัญกับมาตรา 8(j), 16.2 และ 16.5 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประกาศใช้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และระเบียบบริหารจะสมบรูณ์ได้ด้วยประกาศ 98/44/EC หัวข้อต่างๆ ในประกาศไม่ได้สร้างพันธะผูกพันทางกฎหมายให้แก่รัฐสมาชิก อย่างไรก็ตามบางประเทศ เช่น เดนมาร์กและสเปน ได้เสนอให้ เปิดเผยแหล่งกำเนิดทรัพยากรพันธุกรรมเมื่อยื่นขอสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา อนึ่งการละเมิดบทบัญญัติจะไม่ส่งผลต่อการคงอยู่ของสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา

              การดำเนินงานตามแนวทางบอนน์ว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ภายใต้อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบระบอบว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ในประเทศประชาคมยุโรป แนวทางดังกล่าวได้กำหนดกลไกที่แตกต่างกันสำหรับผู้ใช้ทรัพยากรเพื่อเอื้ออำนวยการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ เช่น ข้อตกลงการถ่ายโอนสารพันธุกรรม ข้อถือปฏิบัติในการเข้าถึง การเปิดเผยแหล่งกำเนิดในการยื่นขอสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ใบรับรองแหล่งกำเนิดและกรอบงานที่มั่นใจได้ว่าเกิดจากความสมัครใจ รายงานดังกล่าวได้ยืนยันถึงความสำคัญของการเปิดเผยแหล่งกำเนิด โดยเฉพาะในส่วนของการยื่นขอสิทธิบัตร ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการป้องกันการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมที่ไม่ผ่านความเห็นชอบที่ได้แจ้งล่วงหน้า   รายละเอียดเพิ่มเติม >>

   Up
ทวีปแอฟริกา
              หลายประเทศในทวีปแอฟริกาได้เริ่มดำเนินงานข้อกำหนดเรื่องการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์  Nnadozie และคณะ ได้ตรวจสอบระบบของ 12 ประเทศ ในแอฟริกา ได้แก่ประเทศ แคเมอรูน อียิปต์ โกตดิวัวร์ เคนยา มาดากัสการ์ ไนจีเรีย เซเนกัล เซเชลส์ แอฟริกาใต้ ยูกันดา และแซมเบีย รวมทั้ง กฎหมายต้นแบบขององค์การสหภาพแอฟริกา (OAU) และการตั้งชุมชนพัฒนาของแอฟริกาใต้ นอกจากใน 12 ประเทศและหน่วยงานในระดับภูมิภาคที่ได้ตั้งขึ้นดังกล่าวแล้วยังมีประเทศแกมเบียและมาลาวีก็มีกฎและกระบวนการขั้นตอน ในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ ระบบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ 3 ระบบ ในภูมิภาคได้ถูกตรวจสอบและนำเสนอไว้ข้างล่างนี้ ได้แก่ กฎหมายต้นแบบขององค์การสหภาพแอฟริกัน (OAU) เคนยา และแอฟริกาใต้    รายละเอียดเพิ่มเติม >>
   Up
ทวีปอเมริกาเหนือ
              มีทั้ง 3 ประเทศในอเมริกาเหนือ ไม่มีประเทศใดที่ดำเนินงานภายใต้ระบบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตามประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ไม่ใช่ภาคีสมาชิก ดังนั้นจึงไม่มีพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับระบบการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ ประเทศแคนาดา และ สหรัฐอเมริกามีกิจกรรมเกี่ยวกับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์อยู่บ้างในระดับท้องถิ่น/รัฐ  ประเทศแคนาดา ได้ริเริ่มกระบวนการจัดทำนโยบายของประเทศ ในขณะที่เม็กซิโกประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์แล้ว   รายละเอียดเพิ่มเติม >>
   Up
ภูมิภาคลาตินอเมริกาและคาริบเบียน
              ภูมิภาคลาตินอเมริกาเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีกิจกรรมการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ค่อนข้างมากในระดับภูมิภาค ทั้งกลุ่มประเทศแอนเดียน และกลุ่มประเทศในอเมริกากลาง มีมาตรการในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์    รายละเอียดเพิ่มเติม >>
ที่มา: Centre for Intermation Sustainable Development Law. Overview fo the National and Regional Implementation of Measure on Access to Genetic Resources and Benefit-Sharing Measures, (2005) Up