เอกสาร สิ่งพิมพ์

รายงานการประชุม

GSPC

GSPC 07

GSPC 06

รายงานการประชุมกลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการอนุรักษ์พืช : การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชอย่างยั่งยืน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2550

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์ และปัทมา ดำรงผล

จำนวนหน้า : 67 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2551

เนื้อหา : การประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายที่ 9-12 ของกลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการอนุรักษ์พืช (Global Strategy for Plant Conservation) และการเตรียมการด้านสารัตถะของประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 9 รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลและด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายของพืชในประเทศไทย Download

Download

การดำเนินงานตามกลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการอนุรักษ์พืช วันที่ 8 สิงหาคม 2549

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์ สิตา ผลโภค พรรณี พานทอง

จำนวนหน้า : 64 หน้า พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2550

เนื้อหา : กลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการอนุรักษ์พืช (Global Strategy for Plant Conservation) เป็นอีกหนึ่งพันธกรณีที่ภาคีอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพต้องดำเนินงาน เพื่ออนุรักษ์และดำรงรักษาทรัพยากรพืชอันทรงคุณค่าไว้ให้คงอยู่ตลอดไป เนื่องจากพืชเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ยังมีพืชป่าอีกมากมายหลายชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางวัฒนธรรมสูง รวมทั้งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนพื้นโลก

Download

GTI

Alien 06

Alien 06

Alien 06


รายงานการประชุมบทบาทของพิพิธภัณฑ์พืชในการสนับสนุนโปรแกรมการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธานภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ และ ชัชชัย ศิลปสุนทร

จำนวนหน้า : 48 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2555

เนื้อหา : คณะทำงานอนุกรมวิธานประเทศไทยกับการสนับสนุนการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน บทบาทของสวนหลวง ร.9 ในการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการด้านอนุกรมวิธานพืช การเสนาเรื่องบทบาทของพิพิธภัณฑ์พืช ในการสนับสนุนการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน การดำเนินงานของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการสนับสนุนการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธานของประเทศไทย พิพิธภัณฑ์พืชในประเทศไทย การประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และทะเบียนรายการชนิดเห็ดและสาหร่าย ความร่วมมือด้านอนุกรมวิธานระดับภูมิภาคเซียนและการประเมินสถานภาพด้านอนุกรมวิธานของหน่วยงานในประเทศไทย บทบาทอนุกรมวิธานพืชกับปัญหาการลักลอบค้าพืชป่า และการเสวนาเรื่องมุมมอง ปัญหา อุปสรรค แนวทาง และความก้าวหน้าของการดำเนินงานด้านอนุกรมวิธานพืชในประเทศไทยิ

Download

รายงานการประชุมการประเมินความก้าวหน้าและความต้องการทางอนุกรมวิธานในประเทศไทย วันที่ 24 สิงหาคม 2550

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 52 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2551

เนื้อหา : การประชุมเพื่อทบทวนการประเมินความต้องการทางอนุกรมวิธาน การหาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะนักอนุกรมวิธาน การจัดการข้อมูล และการสร้างเครือข่ายอนุกรมวิธานในประเทศไทยสำหรับเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารด้านอนุกรมวิธาน และการนำความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าและการอนุรักษ์คุ้มครองทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้อง และสนองตอบโปรแกรมงานการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน (Global Taxonomy Initiative) การอนุวัติอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

Download

รายงานการประชุม เรื่อง การประเมินความต้องการทางอนุกรมวิธานระดับชาติ วันที่ 17-18 ตุลาคม 2544

บรรณาธิการ : อัอัญชิรา มะณีวงศ์ และ สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 128 หน้า พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน 2545

เนื้อหา : ผลการประชุมการประเมินความต้องการทางอนุกรมวิธานระดับชาติ เพื่อศึกษาทบทวนสถานภาพและความต้องการทางอนุกรมวิธาน การจัดทำบัญชีรายการระดับชาติเกี่ยวกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเตรียมจัดทำทะเบียนระดับชาติเกี่ยวกับหน่วยงานที่สะสมตัวอย่างหรือพิพิธภัณฑ์ และการริเริ่มจัดตั้งเครือข่ายทางอนุกรมวิธานระดับชาติ

Download

Alien

Alien 06

Alien 96


รายงานการประชุมวิชาการ เรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่น วันที่ 31 สิงหาคม 2549

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 90 หน้า พิมพ์ครั้งแรกธันวาคม 2549

เนื้อหา : การบริหารจัดการและควบคุมชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่น ช่องว่างและความไม่สอดคล้องในกรอบการดำเนินงานควบคุมดูแลชนิดพันธุ์ต่างถิ่นระหว่างประเทศ มูลนิธิโครงการหลวงกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานที่สุดในประเทศไทย สัตว์ต่างถิ่นที่นำเข้าเพื่อการค้าและสถานภาพชนิดพันธุ์สัตว์เลี้ยงต่างถิ่นในตลาด

Download

รายงานการประชุมวิชาการ เรื่อง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย วันที่ 24-26 ตุลาคม 2539

บรรณาธิการ : บรรพต ณ ป้อมเพชร

จำนวนหน้า : 116 หน้า พิมพ์ครั้งแรกธันวาคม 2540

เนื้อหา : ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย การแพร่ระบาด ผลกระทบ และการควบคุมกำจัดพืชและสัตว์ต่างถิ่น ตลอดจนการดำเนินงานของประเทศไทยเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

Download

CBD

Target2010

COP 10

COP 9

COP 8

COP 7

COP 5

CBD 95


เป้าหมายปี 2010 และการดำเนินงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายแผนกลยุทธ์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ วันที่ 13 ธันวาคม 2548

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 90 หน้า พิมพ์ครั้งแรกสิงหาคม 2549

เนื้อหา : เป้าประสงค์เพื่อการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและแผนการดำเนินงานโจฮันเนสเบอร์กเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนกลยุทธ์และกรอบการดำเนินงาน ดัชนีชี้วัดและเป้าหมาย 2010 ผลการประชุมคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ วิชาการและเทคโนโลยี สมัยที่ 11 รวมถึงผลที่ได้จากการวิเคราะห์ประเมินระบบนิเวศแห่งสหัสวรรษ ธุรกิจและความหลากหลายทางชีวภาพ และกลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการอนุรักษ์พืช

Download

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 10

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 222 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2554

เนื้อหา : รายงานการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 10 รายงานการประชุมภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ สมัยที่ 5 รายงานการประชุมคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ และเทคโนโลยี สมัยที่ 14 รายงานการประชุมเจรจาต่อรองระหว่างภูมิภาคว่าด้วยการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ และรายงานการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจในประเด็นต่างๆ ภายใต้อนุสัญญาฯ ได้แก่ คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการทบทวนการดำเนินงานตามอนุสัญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยมาตรา 8(j) และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

Download

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 9

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 232 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2552

เนื้อหา : รายงานการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 9 รายงานการประชุมภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพสมัยที่ 4 รายงานการประชุมคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ และเทคโนโลยี สมัยที่ 12 และ 13 รายงานการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจในประเด็นต่างๆ ภายใต้อนุสัญญาฯ ได้แก่ คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ คณะทำงานเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและวิชาการ ว่าด้วยการรับผิดและการชดใช้ คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยพื้นที่คุ้มครอง และคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยมาตรา 8(j) และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

Download

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 8 วันที่ 20-31 มีนาคม 2549 เมืองคูริติบา ประเทศบราซิล

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์ และ ปัทมา ดำรงผล

จำนวนหน้า : 224 หน้า พิมพ์ครั้งแรกสิงหาคม 2549

เนื้อหา : รายงานการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รายงานการประชุมภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ การประชุมคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของอนุสัญญาฯ การประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาฯ เช่น คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์

Download

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 7 วันที่ 9 - 20 กุมภาพันธ์ 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

บรรณาธิการ : ปัทมา ดำรงผล

จำนวนหน้า : 194 หน้า พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม 2547

เนื้อหา : การประชุมและข้อมติจากการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 7 โปรแกรมงานว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำในแผ่นดิน ทะเลและชายฝั่ง ภูเขา พื้นที่คุ้มครอง การถ่ายทอดเทคโนโลยี และความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาการท่องเที่ยว ตลอดจนหลักการของแนวทางสู่ระบบนิเวศ หลักการและแนวทางแอดดิส บาบา และแนวทางอัคเวย์ : คู

Download

สมัชชาภาคีว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในการประชุมสมัยที่ 5 ณ กรุงไนโรบี วันที่ 16-26 พฤษภาคม 2543

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 181 หน้า พิมพ์ครั้งแรกธันวาคม 2543

เนื้อหา : สถานภาพของพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ความก้าวหน้าของโปรแกรมงานว่าด้วยระบบนิเวศต่าง ๆ การริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ และการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม

Download

รายงานการสัมมนา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ วันที่ 16-18 สิงหาคม 2538

ตรวจ/แก้ไข : สิริกุล บรรพพงศ์ เพราพรรณ ทองส้ม และ สิตา ผลโภค

จำนวนหน้า : 70 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤศจิกายน 2540

เนื้อหา : การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ และกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

Download

IDB

IDB 2013

IDB 2011

IDB 2009

IDB 2008

IDB 2007

IDB 2006

IDB 2004

IDB 2003

IDB 2002

IDB 2001


เรื่อง "น้ำ กับ ความหลากหลายทางชีวภาพ"

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ : ป่าไม้

บรรณาธิการ : ปัทมา ดำรงผล ภัทรินทร์ แสงให้สุข สโรชา หรุ่นศิริ ชัชชัย ศิลปสุนทร กฤษณา สุขนิวัฒน์ชัย โสมวรรณ สุดประเสริฐ วัลลภ ปรีชามาตรย์ ภาณุวัตร กมุทชาติ

จำนวนหน้า : 268 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2555

เนื้อหา : แผนกลยุทธ์ไอจิที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศป่าไม้ และทิศทางการดำเนินงาน เพื่อตอบสนองกลยุทธ์ไอจิ 2011 – 2020 ภาคธุรกิจกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผลผลิตและบริการจากป่าไม้ การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ : การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้และผลผลิตจากป่า ป่าไม้ที่ชุมชนดูแลรักษา และชนิดพันธุ์ต่างถิ่นกับระบบนิเวศป่าไม้

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ : ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์ ปัทมา ดำรงผล ชัชชัย ศิลปสุนทร เบญจมาภรณ์ วัฒนธงชัย กฤษณา สุขนิวัฒน์ชัย

จำนวนหน้า : 194 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2553

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร (Biodiversity and Agriculture)

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์ ชัชชัย ศิลปสุนทร กฤษณา สุขนิวัฒน์ชัย

จำนวนหน้า : 156 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2552

เนื้อหา : ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตรเพื่ออนาคต อาหารและการโภชนาการ การอนุรักษ์และการพัฒนาพันธุ์สัตว์พื้นเมือง พันธุ์ข้าว พันธุ์พืชไร่ และสถานภาพการอนุรักษ์ พันธุ์พืชสวนที่ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ความหลากหลายของแมลงผสมเกสร และการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2550

บรรณาธิการ : ปัทมา ดำรงผล กฤษณา สุขนิวัฒน์ชัย สิริวรรณ สงวนทรัพย์ ไพราณี สุขสุเมฆ วรนาถ ตั้งธัชทอง วิยะดา โตอดิเทพย์ พรรณี พานทอง ศรินญา ภูผาจิตต์ พนารัตน์ ตระบูรณ์ และดาลัด เส้นทอง

จำนวนหน้า : 196 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2551

เนื้อหา : การเผยแพร่องค์ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพในมุมมองระดับโลกและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความร่วมมือระหว่างสามอนุสัญญาริโอในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤติทางความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานการณ์ภัยคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพและการดำเนินการแก้ไข อาทิ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกคุกคาม สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างไม่เหมาะสมและไม่ยั่งยืน รวมถึงนโยบายความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติและนโยบายที่เกี่ยวข้อง และ(ร่าง)พระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. ...

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ วันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2549

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์ ปัทมา ดำรงผล ปิยะ ภิญโญ นฤมล กฤษณชาญดี ศศิธร ศิริเสรี และ โสมวรรณ สุขประเสริฐ

จำนวนหน้า : 226 หน้า พิมพ์ครั้งแรกสิงหาคม 2549

เนื้อหา : การรับทราบผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 8 การจัดสถานภาพชนิดพันธุ์พืชและสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพ (BIA) และพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Hotspots) รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

Download

รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ : อาหาร น้ำ และสุขภาพ วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2547

บรรณาธิการ :อัญชิรา มะณีวงศ์ และ วรนาถ ตั้งธัชทอง

จำนวนหน้า : 84 หน้า พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม 2547

เนื้อหา : การดำเนินงานภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติในด้านความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพต่อการดำรงชีวิต

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพกับการขจัดปัญหาความยากจนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2546

บรรณาธิการ :อัญชิรา มะณีวงศ์ และ วรนาถ ตั้งธัชทอง

จำนวนหน้า : 118 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2547

เนื้อหา : ความหลากหลายทางชีวภาพกับการขจัดปัญหาความยากจน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งสถานภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองในประเทศไทย

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2545

บรรณาธิการ :วรนาถ ตั้งธัชทอง และ สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 144 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2546

เนื้อหา : การดำเนินงานและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้อย่างยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ตลอดจนการคุกคามระบบนิเวศป่าไม้ในรูปแบบต่างๆ

Download

รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2544

บรรณาธิการ :วรนาถ ตั้งธัชทอง และ สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 92 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2545

เนื้อหา : ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น การค้าระหว่างประเทศกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทยและชนิดพันธุ์ต่างถิ่นร้ายแรงของโลก ตลอดจนหลักการ แนวทางป้องกันการนำเข้า และการบรรเทาผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย

Download

อื่นๆ

TK 12

Pollinator

BioFuel

TK

Invertebrate

Mollusca

Mushroom

Insect

Algae

PA09

PA97

Crustacean

Vertebrate

RedData TH

RedData EN

RedData Vertebrates

Bio2019


ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

ผู้เขียน : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จำนวนหน้า : 24 หน้า

เนื้อหา : เอกสารสรุปรายงานแห่งชาติว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ ฉบับที่ 6 (Thailand’s sixth National Report on Implementation of the Convention on Biological Diversity) เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

Download

การจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการใช้ประโยชน์จากความรู้ตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมาและภูมิปัญญาท้องถิ่น และการสูญเสียความหลากหลายของพันธุ์พืช กับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมา

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์ และ ชัชชัย ศิลปสุนทร

จำนวนหน้า : 88 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2555

เนื้อหา : การจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการใช้ประโยชน์จากความรู้ตามขนบธรรมเนียมประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมาของกรมป่าไม้ กรมพัฒนาการแพทย์ไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมปศุสัตว์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการใช้ประโยชน์ของสมุนไพร ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและประเพณีอีสานที่มีต่อความหลากหลายของพันธุ์พืช การสูญเสียความหลากหลายของพืชพื้นบ้านในวัฒนธรรมภาคเหนือเมื่อชุมชนเปลี่ยนไป การสูญเสียความหลกาหลายของพันธุ์พืชกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช

Download

ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร : ผู้ผสมเกสรและสิ่งมีชีวิตในดิน

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์ กฤษณา สุขนิวัฒน์ชัย พุทธพงษ์ สีสะอาด มณฑิรา เกษมสุข วิยะดา โตอดิเทพย์ ภัทรีนา คมขำ ศรินญา ภูผาจิตต์ โสมวรรณ สุขประเสริฐ ไพราณี สุขสุเมฆ

จำนวนหน้า : 50 หน้า พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม 2552

เนื้อหา : ผู้ผสมเกสรและสิ่งมีชีวิตในดินในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายของสัตว์ในดินในประเทศไทยและความสำคัญต่อการเกษตร การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงผสมเกสรและสัตว์หน้าดินในระบบนิเวศเกษตร แมลงผสมเกสร(กลุ่มผึ้ง)และแนวทางการอนุรักษ์ สิ่งมีชีวิตในดินที่เกื้อกูลระบบนิเวศเกษตร และคุณค่าและประโยชน์ของแมลงผสมเกสรกับการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

Download

การศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพเพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์ ปัทมา ดำรงผล กฤษณา สุขนิวัฒน์ชัย เบญจมาภรณ์ วัฒนธงชัย

จำนวนหน้า : 84 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2553

เนื้อหา : การศึกษารวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำพืชและทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงเหลว การผลิตแก๊สชีวภาพ การผลิตไบโอดีเซลชุมชนชีวภาพแบบบูรณาการ และการพัฒนาพลังงานทดแทนจากไม้ เป็นต้น

Download

แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชในวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศไทย

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 64 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2553

เนื้อหา : การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของพืชในวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศไทย ผลกระทบของการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยต่อการลดลงทางความหลากหลายทางชีวภาพ:ในแง่ของการใช้ประโยชน์ของพืชและวัฒนธรรม ชนิดพันธุ์พืชของประเทศไทยที่ถูกคุกคามจากผลกระทบทางการค้า สมุนไพรพื้นบ้านดงนาทาม จังหวัดอุบลราชธานี สาเหตุการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์พืชในวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศไทย แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชในวัฒนธรรมประเพณีของประเทศไทย พรรณไม้หายาก:มุมมองในมิติของชุมชนลุ่มน้ำโขง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Download

รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะการังไทย

บรรณาธิการ : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 80 หน้า พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม 2551

เนื้อหา : ความหลากหลายของชนิดพันธุ์กุ้ง ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปู ความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์หอยทะเล ทากทะเลและทากเปลือย ความหลากหลายของหมึก ความหลากหลายของชนิดพันธุ์เอคไคโนเดิร์ม ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ฟองน้ำ และความหลากหลายของชนิดพันธุ์เพรียงหัวหอมในแนวปะการังไทย

Download

รายงานการประชุมระดมความคิดเห็นต่อร่างรายการชนิดพันธุ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มหอย (mollusca)

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 60 หน้า พิมพ์ครั้งแรกมกราคม 2552

เนื้อหา : ความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มหอยของประเทศไทย ประกอบด้วย และแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญที่ควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์ และฟื้นฟู ความหลากชนิดพันธุ์หอยที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อการจัดทำทะเบียนรายการชนิดพันธุ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มหอย

Download

รายงานการประชุมหารือ เรื่อง การจัดทำทะเบียนรายการชนิดเห็ดในประเทศไทย

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์ ชัชชัย ศิลปสุนทร

จำนวนหน้า : 68 หน้า พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม 2552

เนื้อหา : การจัดทำทะเบียนรายการชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตในประเทศไทยของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของเห็ดในประเทศไทย อาทิ ความหลากหลายของเห็ดราขนาดใหญ่ ความหลากหลายของเห็ดย่อยสลายไม้ วงศ์ Xylariaceae ความหลากหลายของเห็ดเศรษฐกิจ ความหลากหหลายของเห็ดพิษ ความหลากหลายของเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา ตลอดจนการดำเนินการรวบรวมชนิดพันธุ์เห็ดโดยกรมวิชาการเกษตร การรวบรวมชนิดเห็ดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดทำทะเบียนรายการชนิดเห็ดในประเทศไทย

Download

รายงานการประชุมหารือ เรื่อง การจัดทำทะเบียนรายการชนิดพันธุ์แมลงในประเทศไทย

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์ ชัชชัย ศิลปสุนทร

จำนวนหน้า : 72 หน้า พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม 2552

เนื้อหา :ความหลากหลายของชนิดพันธุ์แมลงในภาคการเกษตร ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไร ความหลากหลายของชนิดพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ ความหลากหลายทางชีวภาพของผีเสื้อกลางวัน ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ผีเสื้อกลางคืน ความหลากหลายทางชีวภาพของมด ความหลากหลายของชนิดพันธุ์แมลงป่าไม้ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ด้วง และแนวทางการประเมินสถานภาพตาม IUCN รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อแนวทางการจัดทำทะเบียนรายการชนิดพันธุ์แมลงในประเทศไทย

Download

รายงานการประชุมหารือ เรื่อง การทบทวนทะเบียนรายการสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชในประเทศไทย

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์ ชัชชัย ศิลปสุนทร

จำนวนหน้า : 64 หน้า พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม 2552

เนื้อหา : ความหลากหลายของสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชน้ำจืดและการใช้ประโยชน์ สาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชในพื้นที่ชุ่มน้ำ สาหร่ายขนาดใหญ่ในแหล่งน้ำจืด สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) ความหลากชนิดของไดโนแฟลเจลเลตในน่านน้ำไทย ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นการทบทวนทะเบียนรายการสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชในประเทศไทย

Download

รายงานการประชุมหารือ เรื่อง การดำเนินงานตามโปรแกรมงานว่าด้วยพื้นที่คุ้มครองของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

บรรณาธิการ :สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 125 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2552

เนื้อหา : สรุปผลการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยพื้นที่คุ้มครองครองครั้งที่ 2 (The Second Meeting of the Ad Hoc Ope-Ended Working Group on Protected Areas WG-PA 2) สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการในภูมิภาคว่าด้วยการจัดทำเครื่องมือการประเมินประสิทธิผลของการจัดการสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน การดำเนินงานตามโปรแกรมงานฯ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ช่องว่างทางระบบนิเวศ การเชื่อมต่อด้านความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างพื้นที่คุ้มครอง การจัดทำฐานข้อมูลสัตว์ป่า ฐานข้อมูลพื้นที่คุ้มครอง ตลอดจนพื้นที่สำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพที่ควรได้รับการคุ้มครอง รวมถึงการบริหารการจัดการป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อความสมดุลและยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการพื้นที่คุ้มครอง

Download

รายงานการประชุมวิชาการ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในเขตพื้นที่สงวนชีวมณฑล วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2540

ตรวจ/แก้ไข : สิริกุล บรรพพงศ์ และ สิตา ผลโภค

จำนวนหน้า : 102 หน้า พิมพ์ครั้งแรกกุมภาพันธ์ 2541

เนื้อหา : การดำเนินงานของพื้นที่สงวนชีวมณฑลของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาและในอนาคต กฎหมายที่ใช้คุ้มครองพื้นที่สงวนชีวมณฑลและอนุสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมมนุษย์และชีวมณฑล

Download

รายงานการประชุมระดมความคิดเห็นต่อร่างรายการชนิดพันธุ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มครัสตาเชี่ยน (Crustacean)

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550

ตรวจ/แก้ไข : สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 71 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2551

เนื้อหา : การประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มครัสตาเชียน (Crustacean) สำหรับการปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมทะเบียนรายการชนิดชนิดพันธุ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มครัสตาเชียนในประเทศไทย (Crustacean Fauna in Thailand) และการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นทางด้านอนุกรมวิธาน และแหล่งที่อยู่อาศัย และแนวทางการจัดสถานภาพ

รายงานการประชุมเพื่อจัดสถานภาพทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2539

ตรวจ/แก้ไข : จารุจินต์ นภีตะภัฏ และ สิริกุล บรรพพงศ์

จำนวนหน้า : 52 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤศจิกายน 2540

เนื้อหา : การรวบรวมสถานภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาในประเทศไทย โดยการหารือระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์และคุ้มครองชนิดพันธุ์ดังกล่าวในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

Download

บทสรุปชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย: สัตว์มีกระดูกสันหลัง

บรรณาธิการ :สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จำนวนหน้า : 40 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤศจิกายน 2548

เนื้อหาสรุปสถานภาพของสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย จากการประเมินสถานภาพโดยใช้ระบบเลขรุ่น 3.1 : IUCN (2004) เป็นเกณฑ์ โดยสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ได้รับการประเมินสถานภาพจำนวน 22,733 ชนิด หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย

Download

Thailand Red Data: Vertebrates

บรรณาธิการ :สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จำนวนหน้า : 98 หน้า พิมพ์ครั้งแรกพฤศจิกายน 2548

เนื้อหาสรุปสถานภาพของสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย โดยจัดแปลเป็นภาษาอังกฤษ การประเมินสถานภาพใช้ระบบเลขรุ่น 3.1 : IUCN (2004) เป็นเกณฑ์ โดยสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ได้รับการประเมินสถานภาพจำนวน 22,733 ชนิด หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย

Download

สรุปชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย: สัตว์มีกระดูกสันหลัง Thailand Red Data : Vertebrates

บรรณาธิการ :กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จำนวนหน้า : 112 หน้า พิมพ์ครั้งแรกกันยายน 2560

เนื้อหา : สรุปสถานภาพของสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย จากการประเมินสถานภาพโดยใช้เกณฑ์จำแนกฉบับ (version) ระบบเลขรุ่น 3.1 : IUCN (2001) โดยสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยจำนวน 4,731 ชนิด ได้มีการประเมินสถานภาพจำนวน 2,276 ชนิด มีสถานภาพถูกคุกคาม 569 ชนิด หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีการประเมินสถานภาพการคุกคาม

Download