มาตรา 14 การประเมินผลกระทบและการลดผลกระทบเสียหาย


1. แต่ละภาคี จักต้องดำ เนินการ, ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้และเท่าที่เหมาะสม, ดังต่อไปนี้

  • ก) นำ ระเบียบวิธีการที่เหมาะสมเข้าไปใช้ ซึ่งต้องการให้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีผลเสียหายที่สำ คัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการหลีกเลี่ยงหรือการลดผลนั้นๆ และ, ในกรณีที่เหมาะสม, ยอมให้สาธารณชนมีส่วนร่วมในวิธีการดังกล่าว
  • ข) นำการจัดการที่เหมาะสมเข้าไปใช้เพื่อให้หลักประกันว่าผลลัพธ์ทางสิ่งแวดล้อมสืบเนื่องจากโปรแกรมและนโยบายของภาคีนั้นๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบเสียหายที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการพิจารณาทันการณ์
  • ค) ส่งเสริม, บนพื้นฐานการเอื้ออำ นวยผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน, การแจ้งให้ทราบ, การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมภายใต้ดุลอาณาหรือการควบคุม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีผลเสียหายอย่างสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพของรัฐอื่นหรือในพื้นที่นอกเหนือดุลอาณาของชาติตน, โดยการสนับสนุนให้มีข้อตกลงการดำ เนินงานร่วมแบบทวิภาคี, ภูมิภาคหรือพหุภาคี, เท่าที่เหมาะสม
  • ง) ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีอันตรายหรือความเสียหายร้ายแรง, เกิดขึ้นภายใต้ดุลอาณาหรือการควบคุมของประเทศนั้นๆ, ซึ่งมีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐอื่นหรือในพื้นที่นอกเหนือดุลอาณาของชาตินั้นๆ, แจ้งรัฐที่มีแนวโน้มจะได้รับผลของอันตรายหรือความเสียหายนั้นโดยทันที, เช่นเดียวกับริเริ่มการปฏิบัติงานที่จะป้องกันหรือลดอันตรายหรือความเสียหายนั้น และ
  • จ) ส่งเสริมการดำเนินงานระดับชาติเกี่ยวกับการสนองตอบโดยเร่งด่วนต่อกิจกรรมหรือเหตุการณ์, ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรืออื่นๆ, ซึ่งมีอันตรายอย่างร้ายแรงหรือฉุกเฉินต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อให้ส่งกำลังสำรองช่วยเหลือความพยายามระดับชาตินั้นๆ และเพื่อวางแผนฉุกเฉินร่วมกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่เหมาะสมและได้รับการตกลงจากรัฐต่างๆ หรือองค์การผสานทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง

2. สมัชชาภาคีจักต้องตรวจสอบ, โดยศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวกับรับผิดชอบและการแก้ไขปัญหา, ซึ่งรวมทั้งการฟื้นฟูให้คืนสภาพเดิมและการชดเชยความเสียหายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ, ยกเว้นในกรณีซึ่งความรับผิดชอบนั้นเป็นเรื่องภายในอย่างแท้จริง