มาตรา 23 สมัชชาภาคี


1. โดยนัยนี้สมัชชาภาคีจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นการประชุมครั้งแรกของสมัชชาภาคี จักต้องถูกเรียกระดม โดยผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ภายในไม่เกินหนึ่งปีหลังจากอนุสัญญาฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ ต่อจากนั้นการประชุมสามัญของสมัชชาภาคีจักต้องมีขึ้นในช่วงระยะเวลาที่สมํ่าเสมอ ซึ่งจะได้รับการพิจารณาลงมติจากสมัชชาภาคีในการประชุมครั้งแรก

2. การประชุมพิเศษของสมัชชาภาคีจักต้องมีขึ้นในเวลาอื่น ๆ ที่สมัชชาภาคีเล็งเห็นว่ามีความจำเป็นหรือตามคำขอร้องเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาคีใดๆ ทั้งนี้ กำหนดให้ดำเนินการภายในหกเดือนหลังจากที่ภาคีได้รับทราบจากสำนักเลขาธิการ และจักต้องได้รับความเห็นชอบอย่างน้อยจากหนึ่งในสามของภาคีก่อน

3. สมัชชาภาคีจักต้องได้รับมติเห็นชอบและยอมรับกฎเกณฑ์ของขั้นตอนวิธีการสำหรับสมัชชาภาคีเองและสำหรับคณะกรรมการซึ่งสมัชชาภาคีอาจตั้งขึ้นเช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ทางการเงินซึ่งครอบคลุมการให้ทุน สนับสนุนสำนักเลขาธิการ ในการประชุมสามัญจักต้องมีการรับรองงบประมาณเพื่อนำไปใช้ตามช่วงระยะหนึ่งจนกว่าการประชุมสามัญครั้งต่อไปจะมาถึง

4. สมัชชาภาคีจักต้องควบคุมการพิจารณาทบทวนการดำ เนินการตามอนุสัญญา และเพื่อความมุ่งหมายดังนี้ จักต้อง

  • ก) กำหนดรูปแบบ และช่วงระยะในการถ่ายทอดข้อมูลที่ภาคีจะต้องเสนอตามมาตรา 26 และพิจารณาข้อมูลนั้นเช่นเดียวกับรายงานซึ่งคณะกรรมการใดๆ เป็นผู้เสนอ
  • ข) พิจารณาทบทวนข้อเสนอแนะทางวิทยาศาสตร์, วิชาการและเทคโนโลยีเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเสนอโดยสอดคล้องกับมาตรา 25
  • ค) พิจารณาและยอมรับ, หากเป็นที่ต้องการ, พิธีสารมาใช้โดยสอดคล้องกับมาตรา 28
  • ง) พิจารณาและยอมรับ, หากเป็นที่ต้องการ, ข้อแก้ไขปรับปรุงอนุสัญญาฉบับนี้ และภาคผนวกมาใช้, โดยสอดคล้องกับมาตรา 29 และ 30
  • จ) พิจารณาข้อแก้ไขปรับปรุงในพิธีสารใดๆ เช่นเดียวกันกับในภาคผนวกใดๆ นอกจากนั้น, และ, หากตัดสินใจดังนั้น, เสนอแนะการยอมรับต่อภาคีของพิธีสารที่เกี่ยวข้อง
  • ฉ) พิจารณาและยอมรับ, หากเป็นที่ต้องการ, ภาคผนวกเพิ่มเติมแก่อนุสัญญาฉบับนี้มาใช้, โดยสอดคล้องกับมาตรา 30
  • ช) จัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าว, โดยเฉพาะเพื่อให้ข้อเสนอแนะทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ หากดูเสมือนว่ามีความจำเป็นเพื่อการดำเนินการตามอนุสัญญาฉบับนี้
  • ซ) ติดต่อประสานงาน, ผ่านสำนักเลขาธิการ, กับองค์กรบริหารสำหรับอนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ครอบคลุมในอนุสัญญาฉบับนี้ โดยพิจารณาถึงการวางรูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์กรดังกล่าว, และ
  • ฌ) พิจารณาและดำเนินกิจกรรมเพิ่มเติมใดๆ ที่อาจจำเป็นเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายของอนุสัญญาฉบับนี้ ตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการดำเนินงานของอนุสัญญา

5. สหประชาชาติ, หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติและหน่วยงานการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับรัฐใดๆ ซึ่งมิใช่ภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ อาจส่งผู้แทนเข้าสังเกตการณ์ในการประชุมสมัชชาภาคีได้ องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นของราชการหรือไม่ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมในสาขาซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการทราบความปรารถนาในการเข้าสังเกตการณ์ในการประชุมสมัชชาภาคี อาจได้รับอนุญาตให้เข้าประชุมได้ หากอย่างน้อยหนึ่งในสามของภาคีมิได้คัดค้าน การอนุญาตให้เข้าประชุมและการมีส่วนร่วมในการประชุม จักต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามระเบียบวิธีการซึ่งได้รับการรับรองจากสมัชชาภาคีแล้ว