มาตรา 29 การแก้ไขอนุสัญญา หรือพิธีสาร


1. ภาคีใดๆ อาจเสนอข้อแก้ไขสำหรับอนุสัญญาฉบับนี้ ภาคีใดๆ ของพิธีสารอาจเสนอข้อแก้ไขสำหรับพิธีสารนั้นๆ

2. ข้อแก้ไขในอนุสัญญาฉบับนี้จักต้องได้รับการรับรองในที่ประชุมของสมัชชาภาคี การแก้ไขในพิธีสารใดๆ จักต้องได้รับการรับรองในการประชุมภาคีของพิธีสารที่เป็นปัญหานั้น เนื้อหาของข้อแก้ไขใดๆ ที่เสนอขึ้นมาในอนุสัญญาฉบับนี้ หรือในพิธีสารใดๆ, ยกเว้นซึ่งได้ถูกกำหนดโดยพิธีสารนั้นๆ จักต้องถูกส่งให้แก่ภาคีของสัญญาที่เป็นปัญหานั้นๆ โดยสำนักเลขาธิการอย่างน้อยหกเดือนก่อนการประชุม เพื่อรับรองข้อแก้ไขดังกล่าว สำนักเลขาธิการจักต้องส่งข้อแก้ไขที่เสนอขึ้นมานั้นให้แก่ผู้ลงนามในอนุสัญญาฉบับนี้ เพื่อทราบด้วย

3. ภาคีจักต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะให้มีการตกลงเกี่ยวกับข้อแก้ไขที่เสนอขึ้นมาในอนุสัญญาฉบับนี้หรือในพิธีสารใดๆ โดยการขอความเห็นชอบจากทุกฝ่าย หากความพยายามทั้งหมดในการขอความเห็นชอบได้ถูกใช้หมดสิ้นแล้วหรือไม่ได้มีการตกลงข้อแก้ไขนั้นจักต้องได้รับการรับรองโดยเสียงส่วนใหญ่ตั้งแต่สองในสามเสียงขึ้นไปจากภาคีที่เป็นปัญหานั้น ที่มาประชุมและลงคะแนนเสียง และผู้รับมอบจักต้องเสนอข้อแก้ไขนั้นแก่ภาคีทั้งหลายเพื่อการให้สัตยาบัน, การยอมรับ หรือการเห็นชอบ

4. การให้สัตยาบัน, การยอมรับหรือการเห็นชอบแก่ข้อแก้ไขจักต้องแจ้งแก่ผู้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อแก้ไขซึ่งได้รับการรับรองโดยสอดคล้องกับวรรค 3 ข้างต้น จักมีผลบังคับใช้ระหว่างภาคีซึ่งได้ยอมรับข้อแก้ไขนั้น ทั้งนี้ในวันที่เก้าสิบหลังจากที่ได้ส่งมอบสัตยาบันสาร, สารยอมรับ หรือสารเห็นชอบโดยอย่างน้อยสองในสามของภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้ หรือภาคีของพิธีสารที่เกี่ยวข้องตามหลักการเช่นนี้ ข้อแก้ไขดังกล่าวจักมีผลบังคับใช้สำหรับภาคีอื่นในวันที่เก้าสิบหลังจากที่ภาคีนั้นได้ส่งมอบสัตยาบันสาร, สารยอมรับหรือสารเห็นชอบต่อข้อแก้ไขนั้นแล้ว

5. ตามความมุ่งหมายของมาตรานี้ "ภาคีที่มาประชุมและลงคะแนนเสียง" หมายถึงภาคีที่มาประชุมและลงคะแนนออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้าน