แผนกลยุทธ์ คลช. 2011-2020

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

แผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2011-2020 และเป้าหมายไอจิ (Strategic Plan for Biodiversity 2011-2020 and the Aichi Targets)

สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในการประชุมสมัยที่ 10 เดือนตุลาคม 2553 ณ เมืองนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น ภาคีอนุสัญญาฯ ได้มีข้อตัดสินใจที่ x/2 รับรองแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2011-2020 (Strategic Plan for Biodiversity 2011-2020 and the Aichi Targets ) ซึ่งแผนกลยุทธ์ฯ ดังกล่าว จะเป็นกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับภาคีอนุสัญญาฯ ในช่วงปี 2011-2020 โดยมีการแปลงไปสู่กลยุทธ์และแผนปฎิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (national biodiversity strategies and action plans : NBSAPs) ของภาคีอนุสัญญาฯ ภายในสองปี

วิสัยทัศน์

ภายใน ค.ศ. 2050 ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับความนิยมในคุณค่าได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และถูกใช้อย่างชาญฉลาด เพื่อธำรงรักษาบริการจากระบบนิเวศ เพื่อผดุงพื้นพิภพที่สมบูรณ์พูนผลให้ยั่งยืน และเพื่ออำนวยผลประโยชน์ที่สำคัญยิ่งให้แก่ ผู้คนทั้งปวง

พันธกิจ

ดำเนินปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล และเร่งด่วน เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้หลักประกันว่าภายใน ค.ศ. 2020 ระบบนิเวศยืดหยุ่นคงทนและยังคงให้บริการที่สำคัญยิ่งต่อไป ด้วยเหตุนั้น ให้ความมั่นคงแก่หลากหลายชีวิตบนพื้นพิภพ และเกื้อกูลการกินดีอยู่ดีและการขจัดความยากจนเพื่อเป็นหลักประกันดังกล่าว แรงกดดันต่อความหลากหลายทางชีวภาพถูกลดลง ระบบนิเวศได้รับการฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพถูกใช้อย่างยั่งยืน และผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมถูกแบ่งปัน ในวิถีทางที่ยุติธรรมและเท่าเทียมทรัพยากรพันธุกรรมที่เพียงพอถูกจัดหาให้ สมรรถนะได้รับการเพิ่มพูน ประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ ถูกหยิบยกเป็นกระแสหลัก นโยบายที่เหมาะสมได้รับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล และการตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้และเป็นไปตามวิถีทางการระมัดระวังล่วงหน้า

เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์และเป้าหมายไอจิ

เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์ A : แก้ไขมูลเหตุรากฐานของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพโดยหยิบยกความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกระแสหลักในภาครัฐและภาคประชาสังคม
ภายในปี 2563
  • ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนตระหนักถึงคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ และทราบขั้นตอนว่าจะทำอย่างไรจึงจะอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • บูรณาการคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่การพัฒนาระดับชาติและระดับท้องถิ่นและกลยุทธ์ลดความยากจน และเข้าสู่การจัดทำบัญชีประชาชาติหากเหมาะสม และเข้าสู่ระบบการรายงาน
  • ขจัดแรงจูงใจ รวมถึงเงินอุดหนุนที่มีผลร้ายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อลดให้เหลือน้อยที่สุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบ และต้องจัดให้มีแรงจูงใจทางบวกและประยุกต์ใช้เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยสอดคล้องปรองดองกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและพันธกรณีระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • รัฐบาล ธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในทุกระดับ ต้องดำเนินขั้นตอนที่จะบรรลุความสำเร็จหรือได้ดำเนินงานตามแผน เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน และได้รักษาระดับผลกระทบของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นอย่างดีภายในขอบเขตจำกัดที่ระบบนิเวศปลอดภัย
เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์ B : ลดแรงกดดันโดยตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ภายในปี 2558
  • ลดแรงกดดันที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ลดลงให้เหลือน้อยที่สุด หมายถึงแรงกดดันที่มีต่อแนวปะการัง และระบบนิเวศเปราะบางอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเพิ่มความเป็นกรดให้แก่มหาสมุทร ทั้งนี้ เพื่อธำรงรักษาความสมบูรณ์และบทบาทหน้าที่ของระบบนิเวศดังกล่าว
ภายในปี 2563
  • ดำเนินการให้ลดอัตราการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ รวมถึงป่าไม้ ลงครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อยและในที่ที่เป็นไปได้ ลดอัตราการสูญเสียลงให้เกือบเหลือศูนย์ และลดความเสื่อมโทรมและการแยกการกระจัดกระจายของแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • จัดการและเก็บเกี่ยว สัตว์น้ำและพืชน้ำอย่างยั่งยืน ถูกต้องตามกฎหมาย และประยุกต์ใช้วิถีทางบนพื้นฐานของระบบนิเวศจนกระทั่งสามารถหลีกเลี่ยงการประมงเกินขีดจำกัดได้ ดำเนินแผนและมาตรการฟื้นฟู เปิดสร้างสำหรับชนิดพันธุ์ที่ร่อยหรอ ทำการประมงที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายที่สำคัญต่อชนิดพันธุ์ที่คุกคามและระบบนิเวศที่เปราะบาง และจำกัดผลกระทบของการประมงที่มีต่อปริมาณสำรองชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศ ให้อยู่ภายในขอบเขตที่ระบบนิเวศยังคงปลอดภัย
  • จัดการพื้นที่ภายใต้การเกษตร การเพาะเลี้ยง และการป่าไม้ อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นหลักประกันว่ามีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ควบคุมมลภาวะ รวมทั้งธาตุอาหารที่เกินพอดี ให้อยู่ในระดับที่ไม่เสียหายต่อบทบาทหน้าที่ของระบบนิเวศและต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  • จำแนกระบุและจัดลำดับความสำคัญของชนิดพันธุ์ที่รุกราน และเส้นทางแพร่ระบาด ควบคุมหรือกำจัดชนิดพันธุ์ที่มีลำดับความสำคัญสูง และดำเนินมาตรการเพื่อจัดการเส้นทางแพร่ระบาดเพื่อป้องกันการนำเข้าและการตั้งถิ่นฐาน จำแนกระบุและ
เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์ C : ปรับปรุงสถานภาพของความหลากหลายทางชีวภาพและการคุกคามของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น โดยเฝ้าระวังรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ และพันธุกรรม
ภายในปี 2563
  • อนุรักษ์อย่างน้อยร้อยละ 17 ของแหล่งน้ำบนบกและในแผ่นดิน และร้อยละ 10 ของพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษเฉพาะสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพ และบริการจากระบบนิเวศ ด้วยการจัดการอย่างมีประสิทธิผลและเท่าเทียม มีตัวแทนทางนิเวศ และมีระบบพื้นที่คุ้มครองที่เชื่อมโยงกันอย่างดีและมาตรการอื่นที่มีประสิทธิผล โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พื้นที่เป็นสำคัญ และบูรณาการเข้าสู่ภูมิทัศน์และชลทัศน์ที่กว้างกว่าเดิม
  • ป้องกันไม่ให้ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ซึ่งรู้จักแล้วต้องสูญพันธุ์ และต้องปรับปรุงสถานภาพการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ดังกล่าว โดยเฉพาะพวกที่ประชากรลดลงเหลือน้อยที่สุดและผดุงไว้ให้ยั่งยืน
  • ดำรงรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชปลูกและปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยง และสายพันธุ์ป่า รวมถึงชนิดพันธุ์อื่นที่มีคุณค่าทางสังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และจัดทำกลยุทธ์และดำเนินงานตามนั้นเพื่อลดการสูญสลายทางพันธุกรรมให้มากที่สุด และเฝ้าระวังรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมดังกล่าว
เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์ D : เพิ่มพูนผลประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และบริการจากระบบนิเวศต่อคนทั้งปวง
ภายในปี 2558
  • บังคับใช้ และปฏิบัติตามพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ โดยสอดคล้องกับกฎระเบียบในชาติ
ภายในปี 2563
  • ฟื้นฟูและเฝ้าระวังรักษาระบบนิเวศที่ให้บริการที่สำคัญยิ่ง รวมถึงบริการที่เกี่ยวกับน้ำ และเกื้อกูลต่อสุขอนามัย การกินดีอยู่ดีและความผาสุก โดยคำนึงถึง ความต้องการของสตรี ชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมและชุมชนท้องถิ่น และผู้ยากไร้และผู้อ่อนแอ
  • เพิ่มพูน ความยืดหยุ่นคงทนของระบบนิเวศ และการเกื้อกูลของความหลากหลายทางชีวภาพต่อปริมาณคาร์บอนสำรอง โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูรวมถึงการฟื้นฟูให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 15 ของระบบนิเวศเสื่อมโทรม ดังนั้น จึงเกื้อกูลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว และต่อการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์ E : เพิ่มพูนการอนุวัตอนุสัญญาาฯ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ และการพัฒนาสมรรถนะ
ภายในปี 2558
  • ต้องจัดทำกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (NBSAPs) อย่างมีประสิทธิผล มีส่วนร่วม และได้รับการปรับให้ทันสมัยแล้ว และรับรองเป็นเครื่องมือทางนโยบาย และเริ่มต้นอนุวัตการตามนั้น
ภายในปี 2563
  • ยอมรับนับถือ ความรู้ที่ถ่ายทอดมาตามธรรมเนียมประเพณี การประดิษฐ์คิดค้นใหม่ และวิถีปฏิบัติของชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม และชุมชนท้องถิ่น สำหรับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการใช้ทรัพยากรชีวภาพตามจารีตประเพณี ภายใต้กฎระเบียบแห่งชาติและพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และต้องบูรณาการอย่างเต็มที่ และสะท้อนให้เห็นในการอนุวัตอนุสัญญาฯ โดยการมีส่วนร่วมอย่างเต็มกำลังและมีประสิทธิผลของชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมและชุมชนท้องถิ่นในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง
  • ปรับปรุง แบ่งปันอย่างกว้างขวาง และถ่ายทอด และนำไปประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ บทบาทหน้าที่ สถานภาพและแนวโน้ม และผลสืบเนื่องจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เพิ่มการขับเคลื่อนทรัพยากรการเงินสำหรับอนุวัตแผนกลยุทธ์ 2554-2563 อย่างมีประสิทธิผลจากทุกแหล่ง โดยสอดคล้องกับ กระบวนการรวมทุน และที่ได้รับการเห็นชอบแล้ว ในกลยุทธ์สำหรับขับเคลื่อนทรัพยากร โดยเพิ่มอย่างเป็นรูปธรรมจากระดับปัจจุบัน (เป้าหมายนี้อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการประเมินวิเคราะห์ทรัพยากรที่ต้องการที่ภาคีอนุสัญญาฯ ต้องจัดทำและรายงาน)

รายละเอียดเพิ่มเติม >>>