บทนำและความเป็นมา

สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ตระหนักตั้งแต่แรกว่าการขาดความรู้ทางอนุกรมวิธานเป็นอุปสรรคสำคัญในการอนุวัตอนุสัญญาฯ คณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ฯ ได้พิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมสมัยที่ 2 เมื่อปี ค.ศ. 1996 และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางที่ปฏิบัติได้สำหรับการเสริมสร้างสมรรถนะในอนุกรมวิธาน ซึ่งได้รับการรับรองโดยสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ โดยข้อเสนอนี้รวมถึงความต้องการต่อ :

 การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติ

 การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันในประเทศกำลังพัฒนา

 การแสวงหาหนทางที่จะทำให้ข้อมูลข่าวสารทางอนุกรมวิธาน

สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ได้จัดตั้งการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน (Global Taxonomy Initiative – GTI) เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายและให้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) จัดหาทรัพยากรการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางอนุกรมวิธานเพื่อช่วยอนุวัตมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ การริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน (Global Taxonomy Initiative - GTI) ได้วางรูปแบบเพื่อ

 แก้ไขปัญหาการขาดข้อมูลข่าวสารและผู้เชี่ยวชาญทางอนุกรมวิธานในหลาย ๆ ส่วนในโลก

 ปรับปรุงการตัดสินใจในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม

การริเริ่มทางด้านอนุกรมวิธานตั้งใจเพื่อสนับสนุนโปรแกรมงานของอนุสัญญาฯ เกี่ยวกับหัวข้อสำคัญและประเด็นที่เกี่ยวกับหลายเรื่อง (cross-cutting issues) กิจกรรมการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธานในส่วนที่เสริมสร้างสมรรถนะในอนุกรมวิธาน จะเน้นความเชื่อมโยงกับการอนุวัตอนุสัญญาฯ เป็นลำดับแรก นอกจากนี้กลไกการประสานงานการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามมติสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ในการประชุมสมัยที่ 5 เพื่อเอื้ออำนวยความร่วมมือระหว่างประเทศ และประสานกิจกรรมภายใต้การริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธานโดยสอดคล้องกับกิจกรรมอื่นของอนุสัญญาฯ ในการนี้สำนักเลขานุการอนุสัญญาฯ ได้จัดเตรียมโปรแกรมงานว่าด้วยการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน เสนอต่อที่ประชุมคณะที่ปรึกษาคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ สมัยที่ 6 และได้ประสานขอให้ประเทศภาคีเสนอหน่วยประสานงานกลาง (National GTI Focal Point) เพื่อ :

 ดำเนินงานเชื่อมโยงกับสำนักเลขานุการอนุสัญญาฯ

 ประสานกับประเทศอื่นๆ ในการแบ่งปันข้อมูลในเครือข่ายระดับภูมิภาค

 รับผิดชอบการจัดหาข้อมูลทางอนุกรมวิธานให้แก่สำนักเลขานุการอนุสัญญาฯ

 เตรียมการหารือในระดับระหว่างประเทศเกี่ยวกับการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน

ในเบื้องต้นหน่วยงานประสานกลางสำหรับการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธานจะต้องดำเนินการ คือ

 ประเมินความต้องการทางอนุกรมวิธานระดับชาติ รวมถึงการทบทวนหรือการศึกษาความต้องการพิเศษเฉพาะด้าน

 จัดทำทะเบียนระดับชาติเกี่ยวกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญทางอนุกรมวิธาน

 จัดทำระเบียนระดับชาติเกี่ยวกับหน่วยงานที่สะสมรวบรวมตัวอย่างหรือพิพิธภัณฑ์และตัวอย่างชีวภาพ

 ดำเนินการริเริ่มและเครือข่ายทางอนุกรมวิธานระดับชาติ

ในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 6 ที่ประชุมได้มีข้อมติเกี่ยวกับการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน ซึ่งระบุถึงประเด็นดังต่อไปนี้

 รับรองโปรแกรมงานการริเริ่มทางอนุกรมวิธาน

 ตระหนักถึงคุณค่าของโครงการริเริ่มที่มีอยู่

 เน้นย้ำถึงความต้องการในการประสานความร่วมมือกับการริเริ่มอื่น ๆ เช่น กองทุนข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก (GBIF)

 พิจารณาถึงการเสริมสร้างสมรรถนะในระดับชาติและระดับภูมิภาค ในฐานะเป็นแรงขับเคลื่อนในการดำเนินงาน การริเริ่มทางอนุกรมวิธาน

 เห็นชอบให้จัดตั้งเจ้าหน้าที่ถาวรของโปรแกรมการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธานภายใต้สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ