ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร


ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร นอกจากเป็นแหล่งของอาหารและรายได้แล้ว ยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การปรับปรุงพันธุ์ รวมถึงการให้บริการด้านอื่นๆ เช่น การบำรุงรักษาสิ่งมีชีวิตในดินและภาวะเจริญพันธุ์ การอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดของมนุษย์ โดยเกือบหนึ่งในสามของพื้นดินบนโลกมีการใช้ประโยชน์สำหรับผลิตอาหาร

สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในการประชุมสมัยที่ 5 ปี พ.ศ.2543 ได้ให้การรับรองโปรแกรมงานความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร โปรแกรมงานฯ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก คือ การประเมิน (assessment) การจัดการด้านการปรับตัว (adaptive management) การเสริมสร้างสมรรถนะ (capacity-building) และแนวทางสำคัญ (mainstreaming) และประเด็นที่มีความเกียวข้อง 3 เรื่อง คือ แมลงผสมเกสร (pollinators) ความหลากหลายทางชีวภาพในดิน (soil biodiversity) และความหลากหลายทางชีวภาพของอาหารและธาตุอาหาร (biodiversity for food and nutrition)

รายละเอียดเพิ่มเติม [ ภาษาอังกฤษ ]