ความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น


ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น เป็นแหล่งบริการทางนิเวศให้กับประชากรกว่าสองพันล้านคน ซึ่งร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ฉะนั้น การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางทางชีวภาพในพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น จึงเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในการดำรงชีพ และขจัดความยากจน

สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในการประชุมสมัยที่ 5 ปี พ.ศ.2543 ได้ให้การรับรองโปรแกรมงานความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น โปรแกรมงานฯ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การประเมิน และกิจกรรมเป้าหมายที่สนองตอบความต้องการที่ระบุจำแนก โดยภายใต้การประเมินประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ

  • การประเมินสถานภาพ และแนวโน้มความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การระบุจำแนกพื้นที่เฉพาะที่มีคุณค่าทางความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การพัฒนาตัวชี้วัด
  • การเสริมสร้างความรู้ของกระบวนการทางสังคม กายภาพ และนิเวศวิทยา
  • การระบุจำแนกผลประโยชน์ในระดับโลกและระดับท้องถิ่นที่ได้จากความหลากหลายทางชีวภาพ
  • กรระบุจำแนก และเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงความรู้ การประดิษฐ์คิดค้น และวิถีปฏิบัติของชุมชนและชนพื้นเมือง

และภายใต้กิจกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ

  • การส่งเสริมมาตรการเฉพาะในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านตัวอย่าง การใช้ประโยชน์ และการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองเพิ่มเติม การจัดการที่เหมาะสมและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
  • การส่งเสริมการจัดการทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ ในระดับที่เหมาะสม โดยการประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการเชิงระบบนิเวศ ผ่านนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
  • การสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน ผ่านแหล่งที่หลากหลายของรายได้ ส่งเสริมการเก็บเกี่ยวพืชผลและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน สำรวจนวัตกรรมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

รายละเอียดเพิ่มเติม [ ภาษาอังกฤษ ]