นิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic) และชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (threatened)

ในฐานะที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งตามมาตรา 7( a) ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดให้ภาคีจำแนก วินิจฉัย องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญสำหรับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยพิจารณารายการซึ่งระบุตามประเภทชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์หายาก และชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นหรือชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และมาตรา 8( k) กำหนดให้ภาคีจัดทำหรือธำรง รักษากฎข้อบังคับที่จำเป็นและ/หรือข้อกำหนดระเบียบบังคับต่าง ๆ เพื่อการคุ้มครองชนิดพันธุ์และประชากรที่ถูกคุกคาม

ในปี พ.ศ. 2539 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดประชุมเพื่อจัดสถานภาพทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยขึ้น โดยได้พิจารณาสถานภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา โดยได้พิจารณาสถานภาพตามแนวทางเอกสาร IUCN Red List Categories โดยระบบเลขรุ่นของเกณฑ์ ( version numbering) ที่ได้นำมาใช้ในขณะนั้น คือในปี พ.ศ. 2537 รุ่นที่ ( version) 2.3 : IUCN (1994) ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 (2001) IUCN ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเกณฑ์การจำแนกขึ้นใหม่ โดยใช้รุ่นที่ ( version ) 3.1 : IUCN (2001) และปี พ.ศ. 2547 (2003) ได้ประกาศเป็นบัญชีรายชื่อ Red list ของ IUCN ซึ่งจัดว่าเป็นการจัดสถานภาพของสิ่งมีชีวิตในระดับโลก

ปี พ.ศ. 2547 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Development Programme – UNDP) เพื่อดำเนินโครงการ The Development of Conservation and Protection Mechanism on Red Data of Thailand โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจสถานภาพและถิ่นที่อยู่อาศัย และจัดทำฐานข้อมูลของชนิดพันธุ์หายาก ใกล้สูญพันธุ์ และชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นในกลุ่ม สัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2547

จากการดำเนินงานโครงการและการพิจารณาให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และร่วมปรับปรุงข้อมูลการจัดสถานภาพให้มีความถูกต้องและเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปจำนวนชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ได้ดังนี้

ชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic)และชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (threatened)

หมายเหตุ : * รวมชนิดพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วย

** รวมจำนวนชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์

ชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยตามสถานภาพต่าง ๆ


หมายเหตุ สูญพันธุ์ (extinct)                                           สูญพันธุ์ในธรรมชาติ (extinct in the wild)

                ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ( critically endangered)  ใกล้สูญพันธุ์ (endangered)

                มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable)                 ใกล้ถูกคุกคาม (near threatened)

                กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (least concern)         ข้อมูลไม่เพียงพอ (data deficient)

* ชนิดพันธุ์ย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในชนิดเดียวกัน มีการจัดอยู่ในสถานภาพที่ต่างกัน

** ปลาที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคามในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (threatened in situ ) มี 11 ชนิด

รายละเอียดเพิ่มเติม >>>