มาตรา 21 กลไกการเงิน


1. จักต้องมีกลไกสำหรับข้อกำหนดของทรัพยากรการเงินแก่ภาคีประเทศกำลังพัฒนา, ตามความมุ่งหมายของอนุสัญญาฉบับนี้ บนพื้นฐานของการให้เปล่าหรือให้แบบผ่อนปรน ซึ่งสิ่งที่จำ เป็นดังบรรยายในมาตรานี้กลไกจักมบีทบาทหน้าที่ภายใตข้อบเขตอำนาจและการแนะนำของสมัชชาภาคีและจักมีภาระที่ต้องชี้แจงการดำเนินงานต่อสมัชชาภาคี ทั้งนี้ตามความมุ่งหมายของอนุสัญญาฉบับนี้ การดำเนินการของกลไกจักกระทำโดยสถาบันดังที่สมัชชาได้มีมติแต่งตั้งในการประชุมครั้งแรก ตามความมุ่งหมายของอนุสัญญาฉบับนี้ สมัชชาภาคีจักกำหนดนโยบาย, กลยทุธ์, ลำดับความสำคัญของโปรแกรมและกฎเกณฑ์สำหรับความเหมาะสม ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้น ในการบริจาคควรพิจารณาถึงความต้องการในเรื่องความคาดหวังได้, ความพอเพียง และการหมุนเวียนทันเวลา ของเงินทุนดังได้อ้างถึงในมาตรา 20 ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับปริมาณทรัพยากรที่ต้องการ ซึ่งสมัชชาภาคีจะกำหนดเป็นระยะ และความสำคัญของการแบ่งปันรับภาระระหว่างประเทศผู้บริจาค ดังระบุนามในรายการที่อ้างถึงในมาตรา 20, วรรค 2 การบริจาคโดยสมัครใจอาจกระทำได้ โดยภาคีประเทศพัฒนาแล้ว และโดยประเทศอื่นและแหล่งอื่น กลไกจักดำเนินการภายในระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยและโปร่งใส

2. สืบเนื่องจากวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา สมัชชาภาคีจักต้องกำ หนดนโยบาย, กลยุทธและลำดับความสำคัญของโปรแกรม เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์โดยละเอียดและแนวทางสำหรับความเหมาะสมในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการเงิน รวมทั้ง การติดตามตรวจสอบและประเมินคุณค่าการใช้ประโยชน์นั้นด้วยความสมํ่าเสมอ สมัชชาภาคีจักต้องตัดสินใจในการจัดการให้มีผลการดำเนินงานในวรรค 1 ข้างต้น หลังจากได้มีการปรึกษาหารือกับสถาบันซึ่งได้รับมอบหมายในการดำเนินกลไกทางการเงินแล้ว

3. สมัชชาภาคี จักต้องพิจารณาทบทวนประสิทธิผลของกลไก ที่ได้จัดตั้งขึ้นภายในมาตรานี้ ซึ่งรวมถึงกฎเกณฑ์และแนวทางดังได้อ้างถึงในวรรค 2 ข้างต้น ภายในระยะเวลาไม่ตํ่ากว่า 2 ปี หลังจากอนุสัญญา มีผลบังคับใช้และต่อจากนั้นด้วยความสมํ่าเสมอ บนพื้นฐานของการพิจารณาทบทวนนั้นจักต้องดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของกลไกหากจำเป็น

4. ภาคีจักต้องพิจารณาเสริมสร้างระบบการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนให้ทรัพยากรการเงินสำหรับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน