มาตรา 2 การใช้คำศัพพ์


ตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญานี้

"ความหลากหลายทางชีวภาพ" หมายถึง การมีความผิดแผกแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตจากทุกแหล่งรวมถึง, นอกเหนือจากสิ่งอื่นแล้ว, ระบบนิเวศทางบก, ทางทะเลและทางนํ้าอื่นๆ และการประกอบรวมทางนิเวศ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเป็นส่วนหนึ่งในนั้นด้วยในการนี้รวมถึงความหลากหลายภายในชนิดพันธุ์, ระหว่างชนิดพันธุ์และของระบบนิเวศ

"ทรัพยากรชีวภาพ" หมายรวมทั้งทรัพยากรพันธุกรรม, สิ่งมีชีวิตหรือส่วนใดๆ ของสิ่งมีชีวิต, ประชากร, หรือองค์ประกอบที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตของระบบนิเวศ ซึ่งมีประโยชน์หรือคุณค่าตามความเป็นจริงและตามศักยภาพต่อมนุษยชาติ

"เทคโนโลยีชีวภาพ" หมายถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใดๆ ซึ่งใช้ระบบชีววิทยา, ใช้สิ่งมีชีวิตหรือส่วนที่แยกออกจากสิ่งมีชีวิต, เพื่อทำ ให้หรือเปลี่ยนแปลงผลผลิตหรือกระบวนการสำหรับการใช้ทางวิทยาศาสตร์

"ประเทศแหล่งกำ เนิดของทรัพยากรพันธุกรรม" หมายถึง ประเทศซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเหล่านั้น ในสภาพตามถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

"ประเทศซึ่งให้ทรัพยากรพันธุกรรม" หมายถึง ประเทศซึ่งสำ รองทรัพยากรพันธุกรรมรวบรวมสะสมได้จากแหล่งซึ่งอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ, ในที่นี้หมายรวมถึงประชากรของชนิดพันธุ์ทั้งที่อยู่ในธรรมชาติและที่เลี้ยงหรือปลูก, หรือทรัพยากรพันธุกรรมที่ได้จากแหล่งซึ่งอยู่นอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะหรืออาจไม่ได้ถือกำ เนิดในประเทศนั้น

"ชนิดพันธุ์ที่เลี้ยงหรือเพาะปลูก" หมายถึง ชนิดพันธุ์ซึ่งได้ผ่านขบวนการวิวัฒนาการ โดยได้รับอิทธิพลจากมนุษย์ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์

"ระบบนิเวศ" หมายถึงระบบรวมอันซับซ้อนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประกอบด้วยชุมนุมประชากรพืช, สัตว์และจุลินทรีย์กับสภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตซึ่งอยู่ร่วมกันแบบมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมกันเป็นหน่วยที่มีบทบาทหน้าที่

"การอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ" หมายถึง การอนุรักษ์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพภายนอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

"สารพันธุกรรม" หมายถึง สารใดๆ ของพืช, สัตว์, จุลินทรีย์หรือแหล่งกำ เนิดอื่นๆ ซึ่งบรรจุหน่วยที่มีบทบาทหน้าที่ในการสืบทอดพันธุกรรม

"ทรัพยากรพันธุกรรม" หมายถึง สารพันธุกรรมซึ่งมีคุณค่าตามความเป็นจริงและตามศักยภาพ